จากสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้หลายคนกังวลว่าจะเกิด วิกฤตซ้ำรอยต้มยำกุ้งปี 40 ที่รุนแรง ทำให้ระบบเศรษฐกิจล้มทั้งระบบ
วิกฤตซ้ำรอยต้มยำกุ้งปี 40
ดร.บัณฑิต นิจถาวร ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและ ธรรมาภิบาลได้กล่าวไว้ว่า หากให้เทียบปัจจุบันนี้กับช่วงที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 25 ปีก่อน ถือว่าปีนี้ยังนับว่าแข็งแกร่งกว่าตอนนนั้น เพราะไทยได้เรียนรู้กับบทเรียนทั้งใน “แง่ดี” และ “แง่ไม่ดี”
หลังจากผ่านพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วง 10 ปีแรก เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี เกิดการปฏิรูปในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการเงินที่มีนโยบายเข้มแข็งขึ้น ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะเศรษฐกิจไทยไม่เคยจะต้องกับวิกฤตอะไรอีก

แต่มาในช่วง 10 ปีถัดมาเศรษฐกิจไทยยังคงย่ำอยู่กับที่ไม่มีการปฏิรูป หรือพัฒนานโยบายสำคัญ ๆ อะไรเลยเช่น ไม่มีการปฏิรูประบบการศึกษา, ไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ หรือที่เกี่ยวข้องกับอินโนเวชั่น, เศรษฐกิจไทยไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพผลิตใหม่ ๆ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ไทยยัง “ติดกับดัก” กับเรื่องเดิม ๆ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปอย่างช้า ๆ ถึงแม้จะมีศักยภาพสูง แต่อัตราการเติบโตต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนสูงยิ่งขึ้น ไม่สามารถส่งแข่งขันได้ หากเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญอย่างเวียดนาม
ฉะนั้น กับคำถามที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะวิกฤตซ้ำรอยต้มยำกุ้งหรือไม่ คาดการณ์ว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของการเงินการคลัง ซึ่งเป็นนโยบายหลักของประเทศ เพราะถ้านโยบายเศรษฐกิจอ่อนแอ มีหนี้เยอะ เศรษฐกิจไทยก็จะเข้าสู่สภาวะอ่อนไหวเสี่ยงต่อการจะเกิดวิกฤตขึ้นได้อีก เพราะปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตส่วนใหญ่จะมาจากปัญหา “หนี้” เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นที่ศรีลังกา
“วิกฤตปัจจุบันนี้กับวิกฤตต้มยำกุ้ง” ยังต่างกัน เพราะ วันนี้ไทยเข้มแข็งขึ้นในหลายด้าน ระบบการเงินและการคลังมีกรอบป้องกันอย่างชัดเจน เพดานเหล่านี้จะเสริมความแข็งแกร่งให้ไทยแข็งแกร่งมากขึ้นนั่นเอง”
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การสร้างหนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการสร้างหนี้ให้ดี ล่าสุดหนี้ประเทศมีอยู่เพียง 38% ของจีดีพี ในขณะที่เงินสำรองของคลังล่าสุดอยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีอัตรามาก เพียงพอให้เศรษฐกิจมีกันชนในการรองรับผลกระทบต่าง ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หนี้ต่างประเทศจะต่ำ แต่สิ่งที่น่าห่วงของเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับ “หนี้ครัวเรือนสูง”ปัญหาการกู้ยืม ที่ต้องเข้าไปดูแลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อพยุงให้ธุรกิจ และครัวเรือนอยู่ในภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น รวมทั้งต้องเข้ามาดูแลเรื่องของสภาพคล่อง ดูแลค่าเงินบาท และดูแลความผันผวนเงินบาท เป็นต้น
อีกเรื่องที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญคือ ภาวะเงินเฟ้อ เพราะถ้าเกิดเงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจไทยก็จะเกิดความเสี่ยงมากขึ้น การฟื้นตัวก็ทำได้ยาก ต้นทุนสูง แข่งขันสู้ไม่ได้ ภาคธุรกิจนักลงทุนไม่สามารถวางแผนการลงทุนในอนาคตได้
นอกจากไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายการคลังแล้ว เรื่องของทรัพยากรก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ เราต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด โดยเฉพาะภาครัฐควรเป็นตัวอย่างในการนำพาให้ประชาชนประหยัด เหมือนเช่นรัฐบาลญี่ปุ่นที่ส่งเสริมให้คนในประเทศประหยัดมากขึ้น ท่ามกลางวิกฤตดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ท้ายสุด ในขณะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประชาชนบางส่วนยังไม่สามารถปรับตัวได้ เนื่องจากยังไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายของการคลังเข้าไปช่วย ซึ่งถึงเศรษฐกิจไทยปัจจุบันยังเข้มแข็ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าสู่วิกฤต ต้องไม่ประมาท และต้องให้ความสำคัญกับในหลาย ๆ ด้าน เช่น แก้ไขเงินเฟ้อ การประหยัด การดูแลเรื่องชำระหนี้ ดูแลเรื่องสภาพคล่อง และเร่งเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบาง แล้วเราจะนำพาให้ประเทศรอดพ้นจากทุกวิกฤตไปได้
แหล่งที่มา : bangkokbiznews.com
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ : Alcohol Free คืออะไร? มารู้จักผลดีผลเสียกัน